ในบรรดาเหล่าโบราณสถานทั้งหลายที่คนโบราณสร้าง ไม่มีถาวรวัตถุใดประทับใจมนุษย์ปัจจุบันได้มากเท่าพีระมิด ความเชื่อมั่น ในศาสนาอย่างจริงจังของชาวอียิปต์เมื่อ 4,800 ปี ก่อนได้ผลักดันให้พวกเขา “เนรมิต” สิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งของโลกขึ้นมาเพื่อถวายเป็นกษัตริย์บูชาแก่องค์ฟาโรห์ ที่เขานับถือประดุจเทพเจ้า
ผู้คนชาวอียิปต์ในสมัยนั้นนิยมฝังศพในหลุมกลางทะเลทราย ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าวศพที่จะฝังจะเน่าเปื่อยไม่หมด บางศพจึงมีผิวหนังและผมหลงเหลืออยู่ การได้เห็นซากศพที่มีลักษณะเช่นมัมมี่ได้ทํ าให้ผู้คนสมัยนั้นมีความคิดจะเก็บพระศพขององค์ฟาโรห์ ในสุสานพิเศษที่เรียกพีระมิดบ้าง
กษัตริย Zoser เป็นกษัตริย์ระองค์แรกที่ทรงสร้างพีระมิดขึ้นที่เมือง Memphis และในเวลาต่อมาอีกไม่นานกษัตริย์ Khufu ก็ได้สร้างพีระมิดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นที่เมือง Giza พีระมิดนี้สูง 146.7 เมตร มีฐานกว้างและยาว 230 เมตร ประกอบด้วยหิน 2 ล้าน 3 แสนก้อนหิน แต่และก้อนมีนํ้ าหนักโดยเฉลี่ย 2.5 ตัน มีประตูเปิด เข้าสู่ภายในพีระมิดที่ระดับเหนือพื้นดิน 18 เมตร Herodotus ได้เคยบันทึกไว้ว่า การสร้างพีระมิดลูกนี้ต้องใช้คน 1 แสนคน และเวลาในการก่อสร้างนาน 30 ปี
แต่ Herodotus เขียนข้อมูลนี้หลังจากที่พีระมิดถูกสร้างเสร็จแล้ว 2,000 ปี ดังนั้นข้อมูลเขาจึงไม่น่าเชื่อถือ คํ าถามที่น่าสนใจคือ พีระมิด Khufu ต้องใช้คนสร้างกี่คน
พีระมิดแห่งอียิปต์ต้องใช้คนสร้างกี่คน
คําถามนี้ตอบยากเพราะในสภาพความเป็นจริงไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าคนอียิปต์ยุคนั้นมีวิธีการใดและใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการสร้าง
ในวารสาร Cambridge Archaeological Journal ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.2538 S.K. Wier ได้รายงานว่า จากผลการคํานวณอย่างหยาบๆ โดยการใช้วิชากลศาสตร์และประวัติศาสตร์ จํานวนคนที่ใช้ในการก่อสร้างพีระมิดมีประมาณ 10,000 คนเท่านั้นเอง Wier คิดว่าในการสร้างพีระมิด Khufu ไม่มีใครล่วงรู้ว่า กษัตริย์ Khufu จะทรงครองราชย์นานกี่ปี ดังนั้นเขาจึงคาดคะเนว่าระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างคงจะนานพอๆ กับช่วงเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ ซึ่งก็นานประมาณ 23 ปี หรือ 8,400 วัน Wier ยังสมมติต่ออีกว่า หินที่ใช้ในการสร้างนั้นถูกสกัดเกลา และเคลื่อนย้าย
โดยใช้พลังคนเพียงอย่างเดียว เพราะชาวอียิปต์สมัยนั้นไม่มีปั้นจั่นหรือลูกรอกใดๆ และการสร้างได้เริ่มสร้างจากฐานสู่ยอด เมื่อเขาเอาปริมาตรของพีระมิด (2.6 ล้านลูกบาศก์เมตร) หารด้วยเวลา เขาก็พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วกรรมกรจะต้องติดตั้งหินปริมาตร 309 ลูกบาศก์เมตรในหนึ่งวัน แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าทาสหรือกรรมกรเหล่านั้นจะทํ างานได้ในอัตรานี้ทุกวัน เพราะพีระมิดยิ่งสูง กระบวนการขนหินก็ยิ่งยาก และพื้นที่ทํ างานในบริเวณยอดจะยิ่งน้อย จึงเป็นไปได้ว่าความเร็วในการก่อสร้างจะสูงในระยะแรก แต่จะช้าในระยะหลัง
Wier ได้ประมาณต่ออีกว่า เมื่อกรรมกรแต่ละคนมีความสามารถในการทํ างานได 2.5 แสนจูลต่อวันและพลังงานที่ต้องใช้ในการสร้างพีระมิด Khufu ทั้งลูกมีค่า 2.5 ล้านจูล ดังนั้นการสร้างจึงต้องใช้คน 1,250 คน ทํางาน 8,400 วัน แต่การใช้คนจํ านวนน้อยเช่นนี้ดูๆ จะไม่เหมาะสมกับสถานภาพของกษัตริย์อียิปต์เลย เพื่อให้ได้ตัวเลขที่สมเหตุสมผล Wier ได้อาศัยข้อมูลจากภาพวาดบนผนังพีระมิดชื่อ Djihutihotep แห่งเมือง Deir-el-Bersha ซึ่งเป็นภาพของอนุสาวรีย์ขนาดสูง 5 เมตร และหนัก 50 ตัน ที่ต้องใช้คนลาก 172 คน นั่นก็หมายความว่าทาสแต่ละคนต้องออกแรงโดยเฉลี่ย 11.5 กิโลกรัมเพื่อลากหินที่หนัก 330 กิโลกรัม โดยอาศัยข้อมูลนี้ Wier จึงสรุปว่าการสร้างพีระมิด Khufu ต้องใช้คนอย่างน้อย 9,500 คน และอย่างมากไม่เกิน 12,800 คน ในระยะเริ่มต้น และเมื่อถึงระยะสุดท้ายของการสร้างจํ านวนคนที่จํ าเป็นจะต้องมีอย่างน้อย 35 คน และอย่างมากไม่เกิน 41 คน
โดยสรุป Wier มีความเห็นว่า คนหมื่นคนก็เพียงพอสํ าหรับการสร้างพีระมิด Khufu แล้วและเมื่อพิจารณาจํ านวนประชากรของอียิปต์ในขณะนั้น (1.1 – 1.5 ล้านคน) เราก็จะเห็นว่าจํ านวนคนก่อสร้างคิดเป็น 1 เปอร์เซ้นต์ของคนทั้งประเทศ เขาจึงไม่เห็นว่างานก่อสร้างพีระมิดเป็นเรื่องที่ประเทศต้องทุ่มเททรัพยากรแต่ประการใด แต่ประเด็นที่น่าประหลาดใจคือ โครงการนี้ ใช้เวลาดํ าเนินการนานถึง 23 ปี ซึ่งถือว่าวิศวกรยุคนั้นมีการวางแผนและการควบคุมทาสในการก่อสร้างได้นาน และมีประสิทธิภาพมาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น