วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ค้นพบน้ำบนดวงจันทร์











โดย สำนักข่าวเอเอฟพีและบีบีซีนิวส์รายงานว่าทีมนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ ร่วมกันศึกษาตัวอย่างเศษหินจากดวงจันทร์อีกครั้งด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่มีความ ไวมากกว่าเดิมหลายเท่า ซึ่งทำให้นักวิจัยแต่ละคนถึงกับประหลาดใจอย่างยิ่งที่พบว่ามีองค์ประกอบของ น้ำปะปนอยู่ด้วย จากแต่เติมที่เคยศึกษากันแล้วจนลงมติว่าดวงจันทร์ไม่เคยมีน้ำมาก่อนแม้ใน อดีต ทั้งนี้ได้รายงานผลการวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature)
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าดวงจันทร์เกิดจากการที่มีวัตถุ ขนาดประมาณดาวอังคารพุ่งเข้าชนโลกหลังจากที่โลกถือกำเนิดขึ้นได้ไม่นานเมื่อ ประมาณ 4.5 พันล้านปีก่อน ทำให้เศษหินเศษดินของโลกบางส่วนหลุดกระจายออกไปในอวกาศ ซึ่งความร้อนที่เกิดจากการปะทะกันครั้งนั้นได้แผดเผาน้ำจนเหือดแห้งไปหมด และต่อมาเศษชิ้นส่วนที่กระจายอยู่ในวงโคจรของโลกก็เกิดการรวมตัวกันกลายเป็น ดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกจนถึงปัจจุบันนี้
ทว่าเมื่อทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) มลรัฐโรด ไอส์แลนด์, สถาบันวิทยาศาสตร์คาร์เนกี (Carnegie Institution for Science) กรุงวอชิงตัน ดีซี และ มหาวิทยาลัยเคส เวสเทิร์น รีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University) มลรัฐโอไฮโอ ได้ศึกษาตัวอย่างเศษหินภูเขาไฟที่มีลักษณะใสคล้ายแก้วอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหินดังกล่าวยานอพอลโล (Apollo) นำมาจากดวงจันทร์เมื่อราว 40 ปีก่อน
เดิมทีนักวิทยาศาสตร์เคยตรวจสอบหินจากดวงจันทร์กันมาแล้ว แต่ไม่พบร่องรอยของน้ำแต่อย่างใด จึงให้ข้อสรุปว่าบนดวงจันทร์ปราศจากน้ำ แต่เมื่อนำมาตรวจสอบใหม่อีกครั้ง โดย ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า เซคคันเดอรี ไอออน แมสสเปกโตรเมตรี (secondary ion mass spectrometry: SIMS) ซึ่งมีความไวในการตรวจวัดมากกว่าเทคนิคเดิมที่เคยใช้ถึง 10 เท่า สามารถตรวจจับสัญญาณของน้ำได้แม้มีปริมาณน้อยมากๆ
ผลการวิเคราะห์ที่ได้ทำให้นักวิจัยถึงกับทึ่ง เมื่อพบว่าตัวอย่างหินที่นำมาตรวจสอบ มีน้ำเป็นองค์ประกอบปะปนอยู่ประมาณ 46 ส่วนในล้านส่วน (ppm)
ทีมนักวิจัยเชื่อว่าปริมาณที่ตรวจจับได้จะต้องเป็นร่องรอยของน้ำใน ปริมาณมากมายกว่านี้หลายเท่าที่มีอยู่บนดวงจันทร์อย่างแน่นอน และได้ทดสอบไฮโดรเจนที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของน้ำ ให้ผลยืนยันว่าไม่ได้เป็นไฮโดรเจนที่มีอยู่ในลมสุริยะหรือว่าปนเปื้อน ไฮโดรเจนมาจากสารระเหยอื่นๆ แต่อย่างใด

"แสดงว่าน้ำเหล่านี้มาจากชั้นแมนเทิล (mantle) ที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นผิวของดวงจันทร์" ผศ.อัลเบอร์โต ซาล (Alberto Saal) นักธรณีวิทยาซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบราวน์ ให้ข้อมูลและอธิบายเพิ่มเติมว่า น้ำ ดังกล่าวน่าจะปะปนอยู่กับแมกมาใต้ดิน ซึ่งน่าจะมีอยู่ประมาณ 750 ส่วนในล้านส่วน และปะทุขึ้นมาบนพื้นผิวดวงจันทร์พร้อมกันจากการที่ภูเขาไฟระเบิดเมื่อราว 3.5 พันล้านปีก่อน
นักวิจัยให้เหตุผลว่า การระเบิดของภูเขาไฟครั้งนั้นน่าจะทำให้น้ำที่ปะปนออกมากับลาวาได้รับความร้อนและระเหยเป็นไอไปกว่า 95% แต่ เนื่องจากว่าบนดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม ประกอบกับแรงดึงดูดของดวงจันทร์มีไม่มากพบที่จะดึงดูดโมเลกุลของไอน้ำเอาไว้ ได้ จึงทำให้ไอน้ำหลุดลอยออกไปสู่อวกาศจนหมด ส่วนน้ำที่เหลืออีกราว 5% น่าจะสะสมกลายเป็นน้ำแข็งอยู่ใต้พื้นผิวบริเวณขั้วของดวงจันทร์
ทั้งนี้ องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เตรียมเดินหน้าสมรวจหาร่องรอยของน้ำบนดวงจันทร์อีกครั้ง โดยเอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมว่านาซาเตรียมจะส่งยานลูนาร์ รีคอนเนสซองส์ ออร์บิเตอร์ (Lunar Reconnaissance Orbiter) ไปสำรวจดวงจันทร์ภายในเดือน พ.ย. 2551 และจะส่งลูนาร์ เครเตอร์ ออบเซอร์เวชัน แอนด์ เซนซิง แซทเทลไลต์ (Lunar Crater Observation and Sensing Satellite) ตามขึ้นไปต้นปี 2552
บีบีซีนิวส์รายงานเพิ่มเติมว่า การค้นพบครั้งสำคัญนี้จะช่วยเพิ่มข้อมูลให้นักวิทยาศาสตร์สำหรับศึกษาความ เป็นมาของโลกและดวงจันทร์ในอดีต ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่ามีน้ำเกิดขึ้นบนโลกแล้วก่อนที่จะถูกอุกกาบาตพุ่งชนจนบาง ส่วนกระเด็นออกไปและก่อตัวเป็นดวงจันทร์ สำหรับดวงจันทร์ก็เพิ่มข้อสันนิษฐานว่ามีน้ำบนดวงจันทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของ น้ำบนโลกมาก่อนหรือเปล่า หรือเกิดขึ้นหลังจากนั้นราว 100 ล้านปี
เรื่องราวการพบน้ำบนดวงจันทร์ในครั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ที่จะนำไปสู่ การค้นหาความจริงว่า บนดวงจันทร์มีสิ่งมีชีวิตหรือไม่ เอาล่ะ เรามาคอยลุ้นกันดีกว่า ว่าจะมีสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์หรือเปล่า เอ้า...น้องๆมีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ บอกเล่าเก้าสิบมาได้เลย

เพสที่ 3 ไม่เป็นปัญหาในมหาวิทยาลัย

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเครือข่ายรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ว่า ที่ประชุมได้รายงานผลสำรวจจำนวนนิสิตนักศึกษาเพศที่ 3 ของแต่ละสถาบัน โดยมีมหาวิทยาลัยที่รายงานผลมา 61 แห่ง ปรากฏว่า มี 34 สถาบันไม่มีนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือมีจำนวนน้อย และไม่ได้มีปัญหา ส่วนที่เหลือ 27 สถาบัน มีนักศึกษาเพศที่ 3 รวม 2,847 คน แยกเป็นนักศึกษาที่แปลงเพศแล้ว 22 คน และมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ 2,825 คน และเมื่อแยกตามสถาบันพบว่ามหาวิทยาลัยรัฐเดิม มีนักศึกษาแปลงเพศแล้ว 4 คน เบี่ยงเบนทางเพศ 1,003 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏ แปลงเพศแล้ว 12 คน เบี่ยงเบนทางเพศ 814 คน มหาวิทยาลัยเอกชน แปลงเพศแล้ว 6 คน เบี่ยงเบนทางเพศ 564 คน ม.เทคโนโลยีราชมงคล เบี่ยงเบนทางเพศ 414 คน และวิทยาลัยชุมชน เบี่ยงเบนทางเพศ 30 คน ดร.สุเมธ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลดังกล่าวถือว่าจำนวนเพศที่ 3 มีไม่มากนักและไม่เป็นปัญหาต่อการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยังเสนอว่า สกอ.ควรอนุโลมให้แต่ละมหาวิทยาลัยดูแลกันเอง เพราะแต่ละสถาบันก็มีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันไป อาทิ บางแห่งให้แต่งกายตามเพศที่เบี่ยงเบนได้ บางสถาบันก็จัดห้องน้ำสำหรับเพศที่ 3 ส่วนเรื่องของหอพักยังไม่มีการแบ่งแยกชัดเจน เพียงแต่มีการจัดโซนนิ่งหรือพื้นที่ให้กลุ่มเพศที่ 3 เป็นต้น ทั้งนี้ตนจะสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อ นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศึกษาธิการ ต่อไป “ที่ประชุมยังหารือเกี่ยวกับความปลอดภัยของนิสิตนักศึกษา เนื่องจากพบว่ามีนักศึกษาประสบอุบัติเหตุทางจราจรภายในมหาวิทยาลัยค่อนข้างมาก เช่น ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ตั้งแต่เปิดภาคเรียนมีนักศึกษาประสบอุบัติเหตุภายในสถาบันเสียชีวิตถึง 3 คน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ทุกมหาวิทยาลัยไปเข้มงวดนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎจราจร” ดร.สุเมธ กล่าว

วันอาสาฬหบูชา

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘
ใ จ ค ว า ม ส ำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า
ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ
๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น
ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ
ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง อ า ส า ฬ ห บู ช า
“อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา
โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ
๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)
พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด

มธ.แจกใบเหลืองนักศึกษาแต่งโป๊

จนถึงตอนนี้ มหาวิทยาลัยทุกแห่งเปิดภาคเรียนกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ "ชุดนักศึกษา" ยังคงเป็นปัญหาคับอกคับใจของเหล่าคณาจารย์และผู้ปกครอง ถ้ายังจำกันได้ ก่อนจะเปิดเทอมเรื่องของชุดนักศึกษาตกเป็นข่าวพาดหัว พร้อมกับที่รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล วิพากย์การแต่งกายของนักศึกษาว่า ไม่เพียงใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก นักศึกษาบางคนใส่ชุดนอน เข้าห้องบรรยาย ก็ยังมีเป็นที่มาของการรื้อระเบียบการแต่งกายว่าด้วยชุดนักศึกษาออกมาปัดฝุ่น ขณะที่ประเด็นการแต่งกายของนิสิตนักศึกษาถูกหยิบขึ้นมาถกเถียงกันอีกวาระ ไม่เพียงเฉพาะในแวดวงวิชาการและกึ่งวิชาการ บรรดาเว็บไซต์ที่มีคนเข้าไปตั้งกระทู้เรื่องการแต่งกายนักศึกษาต่างได้รับการตอบรับมากมาย ความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งว่าเป็นเรื่องของ "สิทธิเสรีภาพ" ในการแต่งกาย ส่วนอีกฝ่ายว่าเป็นเรื่องของ "กาละเทศะ" เป็นเรื่องของความเหมาะควร การให้ความเคารพต่อสถานศึกษา มติชน "ประชาชื่น" ลงพื้นที่ไปสำรวจการแต่งกายของนักศึกษา พบว่านักศึกษาหญิงจำนวนมากยังคงนุ่งกระโปรงสั้น-ผ่าสูง เสื้อค่อนข้างพอดีตัว ดร.ปริญญาเล่าถึงระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาธรรมศาสตร์ว่า ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยระบุไว้ว่า..."นักศึกษามีเสรีภาพในการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละเทศะ ตามที่นักศึกษานิยมและเห็นสมควร" นั่นคือ นักศึกษามีเสรีภาพเลือกได้ว่าจะแต่งชุดนักศึกษาหรือแต่งชุดธรรมดา เพียงแต่ว่าต้องเหมาะสมกับกาละเทศะบางชุดเหมาะที่จะอยู่ในบ้านหรืออยู่ในหอเท่านั้น ไม่เหมาะที่จะใส่มาเข้าห้องเรียน บางชุดเหมาะที่จะใส่ไปงาน เช่น งานราตรี บางชุดอาจจะดูโป๊ แต่ถ้าอยู่ที่สระว่ายน้ำมันก็ไม่โป๊ นี่คือกาละเทศะ"แต่ปัญหาคือ คำว่า "กาละเทศะ" เป็นเรื่องที่เราอาจจะมีความเข้าใจกันน้อยลง อย่างชุดนอนถ้าใส่อยู่ในบ้านก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับตรงนั้น แต่แต่งมาเข้าห้องเรียนก็ไม่เหมาะสม เราจึงจำเป็นต้องพูดถึงเรื่องเสรีภาพกันให้มากขึ้นในแง่ที่ว่า เสรีภาพจะต้องควบคู่กับความรับผิดชอบ เรื่องของเครื่องแต่งกายเป็นเรื่องกาละเทศะที่เหมาะสม ไม่ใช่เป็นเสรีภาพตามอำเภอใจ"วิธีการแก้ปัญหา ดร.ปริญญาบอกว่า ที่ธรรมศาสตร์จะเตือนโดยการแจก "ใบเหลือง"!
ใช่...ใบเหลืองเหมือนกับที่กรรมการในสนามแข่งขันฟุตบอลแจกให้กับผู้เล่นที่ทำผิดกติกา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ใช้การแจกใบเหลืองให้กับนักศึกษาที่แต่งกายไม่เหมาะสม แต่งกายล่อแหลม เพื่อขอความร่วมมือ แต่ถ้ายังไม่ได้ผลก็จะแจก "ใบแดง" ล่ะทีนี้ดร.ปริญญากล่าวว่า ที่เลือกใช้ "ใบเหลือง" เพื่อว่าจะดูไม่รุนแรงเกินไป ซึ่ง "ใบเหลือง" ที่ว่ามีขนาด 4X4.5 นิ้ว ด้านหน้าเป็นลักษณะแบบฟอร์มจดหมายขอความร่วมมือในการแต่งกายที่เหมาะสม ด้านหลังเป็นประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง "การแต่งกายที่ถือว่าเป็นการใช้เสรีภาพเกินกว่าขอบเขตอันเหมาะสม"กล่าวคือ กรณีนักศึกษาหญิง : เสื้อเอวลอยเหนือสะดือ เสื้อเกาะอก เสื้อสายเดี่ยว เสื้อแขนกุด หรือเสื้อรัดรูปเกินไป กระโปรงที่สั้นจนเกินครึ่งหนึ่งของต้นขาหรือสั้นกว่า กางเกงขาสั้นเลยเข่าขึ้นมา กางเกงเล หรือกางเกงที่เอวต่ำกว่าสะโพก ชุดนอน หรือการแต่งกายลักษณะใดที่เห็นชัดแจ้งว่าเป็นการแต่งกายล่อแหลมจนเกินควร หรือเปิดเผยเนื้อตัวร่างกายจนเกินไปจนมีลักษณะไปในทางยั่วยุทางเพศ......นักศึกษาที่แต่งกายลักษณะดังนี้จะถูกห้ามไม่ให้ขึ้นอาคารเรียนหรือเข้าห้องเรียนและห้องสมุด และหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมีสิทธิงดให้บริการได้ รองอธิการบดีฝ่ายนักศึกษา มธ.ชี้แจงว่า "ถ้าแก้ปัญหาด้วยการห้าม การบังคับ จะยิ่งเหมือนทำกับนักศึกษาเหมือนเป็นเด็ก นักศึกษาปี 1 อายุ 18 ปีแล้ว เขาควรจะเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักใช้เสรีภาพ ควรจะเรียนรู้ว่าเสรีภาพมีขอบเขตอยู่ตรงไหน ซึ่งเสรีภาพของการแต่งกายนั้นสิ่งที่กำกับก็คือ "กาละ" และ "เทศะ" ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาคาร เห็นนักศึกษาคนใดแต่งกายที่ล่อแหลมเกินไป เจ้าหน้าที่ก็จะให้ใบเหลืองกับนักศึกษาเพื่อเป็นการเตือน ซึ่งวิธีการนี้เราถือว่าเป็นการรณรงค์ให้นักศึกษาแต่งกายให้เหมาะสมและถูกกาละเทศะ เพราะเสรีภาพนั้นต้องควบคู่กับความรับผิดชอบ"ทางด้าน รัตติกรณ์ โสรมรรค นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ปี 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การรณรงค์สร้างสำนึกให้กับนักศึกษาในการแต่งกายอย่างเหมาะสม ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี คนที่ใส่ชุดวับๆ แวมๆ มาเรียนเหมือนกับไม่ให้เกียรติคณะ อาจารย์ หรือแม้แต่สถาบันการศึกษา
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล"การแต่งกายของนักศึกษาไม่เกี่ยวกับเรื่องของสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นเรื่องของการแต่งตัวอย่างไรให้ถูกกาละเทศะมากกว่า ที่ผ่านมาอาจารย์หลายๆ คนก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องใส่ชุดนักศึกษาเท่านั้นจึงจะเข้าเรียนได้ เพียงแต่ให้แต่งชุดสุภาพ คือ จะต้องใส่กางเกงขายาว ยกเว้นเวลาที่จะต้องติดต่อกับหน่วยงานหรือห้องสมุดที่จะต้องแต่งชุดนักศึกษา"รัตติกรณ์บอกอีกว่า โดยความเห็นส่วนตัวเห็นว่าคนที่เอ็นทรานซ์เข้ามาเรียนที่นี่ได้แล้วน่าจะรู้สึกภาคภูมิใจกับชุดนักศึกษา และโอกาสที่จะได้ใส่ชุดนักศึกษามีเพียง 4 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นเราก็จะอยู่ในอีกสถานภาพหนึ่งที่ไม่ใช่นักศึกษาแล้วพนิตา เจริญผลารักษ์ นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ปี 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอีกคนที่เห็นด้วยกันการฟื้นระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาขึ้นมาใช้ในเชิงปฏิบัติ เธอบอกว่า การแต่งชุดนักศึกษาทำให้ภาพลักษณ์ของนักศึกษาดูดี สมกับเป็น "นักศึกษา" ดูเป็นระเบียบ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเงินพ่อแม่ ไม่ต้องไปหาซื้อเสื้อผ้าที่แพงๆ ทันสมัยมาใส่อวดกับเพื่อนๆ เพราะชุดนักศึกษาชุดหนึ่งราคาประมาณ 300-400 บาท สามารถใส่ได้ตั้งหลายเทอม "เวลาที่ได้ใส่ชุดนักศึกษานอกจากเราจะรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นนักศึกษาของสถาบันแห่งนี้ และเป็นความภาคภูมิใจของพ่อแม่ด้วย"ไม่มีใครปฏิเสธว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ แต่เสรีภาพนั้นก็ควรตั้งอยู่บนการรู้จักกาละเทศะ มิใช่หรือ จึงสมกับการที่ได้ชื่อว่าเป็นปัญญาชน ดร.กรรณิกา คำดีหัวหน้าฝ่ายพัฒนาและวินัยนิสิต กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามปกตินิสิตที่นี่ไม่ค่อยแต่งกายหวือหวาเท่าไหร่ อาจจะด้วยวัฒนธรรมของนิสิตเกษตรฯที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย ติดดิน เราค่อนข้างดูแลเรื่องการแต่งกายของนิสิตอยู่แล้ว และทำกันมาตลอด หากนิสิตแต่งกายไม่ถูกต้องตามกฎของมหาวิทยาลัย อาจารย์จะไม่ให้เข้าเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาสอบ เราจะเข้มงวดมาก เพราะเราอยากให้นิสิตเรียบร้อย แต่ก็จะอนุโลมให้เด็กใส่รองเท้าสีขาว รัดส้นเท้า ส่วนสีของก็จะเป็นกระโปรงสีดำ หรือสีกรมท่า ขณะเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำโปสเตอร์รณรงค์เรื่องการแต่งกายให้ถูกระเบียบเพื่อเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ไปสู่วิทยาเขตต่างๆ ตามโครงการ "ก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่" ผศ.ญาณวุฒิ สุพิชญางกูรผู้อำนวยการสำนักงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิตช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราได้แจ้งไปทุกคณะว่าน้องใหม่ทุกคนจะต้องแต่งกายตามระเบียบ โดยจะให้รุ่นพี่เป็นคนดูแล เนื่องจากที่มหาวิทยาลัยยังยึดระบบโซตัส รุ่นน้องจะให้ความเกรงใจและเชื่อฟังรุ่นพี่ อาจารย์เองก็จะต้องเรียนรู้ถึงพฤติกรรมนักศึกษาในแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น นอกจากแต่งตามกระแสแฟชั่นแล้ว นักศึกษาเองมีปัญหาทางบ้านหรือไม่ กรณีของการแต่งกายไม่สุภาพ จะใช้การตักเตือน ไม่นิยมการภาคทัณฑ์ เพราะถ้าทำอะไรที่รุนแรงไปก็เหมือนกับว่าเราไล่นักศึกษาให้ออกจากสถาบันเร็วขึ้น เราจะไม่เอาระบบการศึกษาไปร่วมกับระบบพฤติกรรมของนักศึกษา แต่จะใช้การละลายพฤติกรรมเหล่านั้น ให้เขาปรับตัวให้เข้ากับสถาบันการศึกษาได้ ซึ่งโดยมากจะใช้การพูดคุยทำความเข้าใจกัน ผศ.วรรณวิภา ทัพวงศ์รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีสโลแกนรณรงค์การแต่งกายชุดนักศึกษาว่า "ไม่แตะ ไม่เต่อ ไม่ติ้ว" คือ ไม่ใส่รองเท้าแตะ ไม่ใส่กระโปรงสั้นเต่อ และไม่ใส่เสื้อคับติ้ว รวมถึงไม่อนุญาตใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ และปล่อยชายเสื้อไว้นอกกางเกงและกระโปรงเรามีโครงการ "ดีพิว สมาร์ท" (dpu smart) เป็นโครงการรณรงค์ให้นักศึกษาแต่งกายอยู่ในระเบียบ โดยจะทำเป็นบัตรสะสมแต้มสำหรับให้อาจารย์ท่านใดก็ได้ในมหาวิทยาลัยเซ็นชื่อรับรองการแต่งกายที่ถูกระเบียบของนักศึกษา วันละ 1 ช่อง เท่ากับ 1 แต้ม สะสมจนครบ 20 แต้ม สามารถนำมาแลกรางวัลได้ โดยของรางวัลจะเป็นหัวเข็มขัด กระดุม หรือที่ห้อยปกเสื้อ หรือตุ้งติ้ง"ถ้าแต่งกายผิดระเบียบจะมีการตักเตือนจนไปถึงขั้นยึดบัตรนักศึกษา ถ้าทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกจะมีการเพิ่มระดับการลงโทษ คือ การตัดคะแนนจิตพิสัยและความประพฤติ ซึ่งจะทำให้ไม่มีสิทธิได้รับใบรับรองความประพฤติ และจะนำนักศึกษาไปรับการอบรมบุคลิกภาพ เพื่อปลุกจิตสำนึกที่ถูกต้อง"